กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย
รายงานสถานการณ์ (SAT) การฝึกป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปฏิทินกิจกรรม
หนังสือสั่งการ
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ด่วนที่สุด ที่ มท (กปภก) 0624/ว89 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกอบด้วย 1. สรุปข้อมูลการเตรียมความพร้อมของจังหวัด 2. แบบฟอร์มการรายงานการจัดกิจกรรมฯ
หนังสือกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ด่วนที่สุดที่ มท (บกปภ)0624/ว 30 และ 31 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2566
1. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ด่วนที่สุด ที่ มท (กปภก) 0624/ว 75 ลว 9 พฤษภาคม 2566 2. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ด่วนที่สุด ที่ มท (กปภก) 0624/76 ลว 9 พฤษภาคม 2566
สรุปข้อสั่งการและประเด็นการประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง เพื่อติดตามสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566
เรื่อง การป้องกันอันตรายจากอุบัติภัย และผลกระทบจากอากาศร้อนในช่วงประเพณีสงกรานต์ 2566
เรื่อง การสำรวจพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ปี 2566
ติดตามสถานการณ์น้ำ
การประชุม บกปภ.ช. เตรียมการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง วันที่ 20 สิงหาคม 2562 โดยมีคณะองคมตรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
โครงการสร้างการรับรู้ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ฤดูฝน ปี พ.ศ. 2562 ในวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2562 เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ ชั้น 3 สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โดยมีนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา) ให้เกียรติเป็นประธาน ภายในงานมีการเสวนา และนิทรรศการ หัวข้อ “การเตรียมความพร้อมจัดการน้ำหลากปี 2562”
ดาวน์โหลด
เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่
เพื่อติดตามสถานการณ์และการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล
ในการประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อติดตามสถานการณ์และการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่
การประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง เพื่อติดตามสถานการณ์และการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชี - มูล ในวันพุธที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี
แผนเผชิญเหตุภัยแล้ง 76 จังหวัด
แผนเผชิญเหตุไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ปี 2566
แจ้งเตือนเตรียมความพร้อม
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศปริมาณฝนสะสม สถานการณ์น้ำท่า และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เชิงพื้นที่ ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบริเวณภาคใต้ ให้เฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก คลื่นลมแรง ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2561
หนังสือกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ด่วนที่สุด ที่ มท 0624 (บกปภ.ช.)/ว 23 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2561 เรื่อง การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศ ปริมาณฝนสะสม สถานการณ์น้ำท่า และปัจจัยเสี่ยงเชิงพื้นที่ พบว่าช่วงที่ผ่านมาทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง หลายพื้นที่เกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ส่งผลให้ ในช่วงวันที่ 23 - 27 สิงหาคม 2561 ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ทั้งนี้ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ในเกณฑ์มากและการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ โดยจะระบายน้ำวันละ 53 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งอาจต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นอาจเกิดน้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมฉับพลัน รวมทั้งคลื่นลมทะเลสูง 2-4 เมตร ชาวเรือและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งอาจได้รับผลกระทบจากคลื่นลมแรง
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศ ปริมาณฝนสะสม สถานการณ์ น้ำท่า และปัจจัยเสี่ยงเชิงพื้นที่ พบว่าขณะนี้ปริมาณน้ำท่าและปริมาณน้ำในเขื่อน/อ่างเก็บน้ำหลายแห่งอยู่ในระดับสูงทำให้มีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 5-9 สิงหาคม 2561 ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักเพิ่มขึ้นทุกภาค ปริมาณฝนสะสมที่เพิ่มมากขึ้นอาจเกิดภาวะอุทกภัยและน้ำท่วมฉับพลัน บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ สำหรับคลื่นลมบริเวณอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร เพื่อเป็นการแจ้งเตือนเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศ ปริมาณฝนสะสม สถานการณ์น้ำท่า และปัจจัยเสี่ยงเชิงพื้นที่ พบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายจังหวัดมีฝนตกต่อเนื่องทำให้ศักยภาพในการอุ้มน้ำของดินต่ำลง หากมีปริมาณฝนสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลาดเชิงเขา อาจทำให้พื้นที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม โดยมีพื้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ได้แก่ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ ชัยภูมิ มุกดาหาร อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และจ.ประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการดังนี้ 1) ให้จังหวัดที่อยู่ติดกับริมแม่น้ำโขงติดตามสถานการณ์น้ำเพิ่มสูง เตรียมพร้อมรับมือ ติดตั้งระบบสูบน้ำ รวมทั้งบริหารการเปิดปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นตลิ่งและระบายน้ำออกตามสภาพพื้นที่พร้อมแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบ และจัดหาสถานที่ปลอดภัยสำหรับรองรับการอพยพประชาชน 2) ให้จังหวัดที่มีการพร่องหรือระบายและจังหวัดท้ายน้ำแจ้งอำเภอสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ผ่านทุกช่องทางการสื่อสารและกลไกฝ่ายปกครองอย่างทั่วถึง เพื่อแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามสถานการณ์น้ำเตรียมพร้อมรับมือ และปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการ เช่น จัดเก็บทรัพย์สินขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ขึ้นที่สูง เตรียมย้ายยานพาหนะไปยังพื้นที่ปลอดภัย ฯลฯ 3) กรณีพื้นที่ท้ายเขื่อน/อ่างเก็บน้ำให้เฝ้าระวังและติดตามการบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานภาครัฐอย่างใกล้ชิดหากพบว่าปริมาณน้ำที่ระบายน้ำมีปริมาณมากและระดับน้ำสูง ให้ชี้แจงประชาชนทราบถึงความเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และหากผู้อำนวยการท้องถิ่นหรือผู้อำนวยการอำเภอ หรือผู้อำนวยการจังหวัดพิจารณาแล้วมีความจำเป็นต้องอพยพ และดำเนินการอพยพไปจุดที่ปลอดภัยตามแผนเผชิญเหตุ 4) ให้ประสานการปฎิบัติกับหน่วยทหารในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน และเครือข่ายอาสาสมัครจากทุกภาคส่วน เตรียมพร้อมด้านสรรพกำลัง เครื่องจักรกลสาธารณภัย รวมทั้งให้จัดชุดเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุและให้ความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งแจ้งไปยัง ศูนย์ ปภ. เขต 2 (สุพรรณบุรี) เขต 4 (ประจวบคีรีขันธ์) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 13 (อุบลราชธานี) เขต 14 (อุดรธานี) ดำเนินการเฝ้าระวังสถานการณ์ระดับน้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ให้ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด สน.ปภ.จ. ในพื้นที่เพื่อรับมอบภารกิจและเตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ กำลังพล ให้พร้อมสนับสนุนจังหวัด ตลอด 24 ชั่วโมง
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศ ปริมาณฝนสะสม สถานการณ์น้ำท่า และปัจจัยเสี่ยงเชิงพื้นที่ พบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายจังหวัดมีฝนตกต่อเนื่องทำให้ศักยภาพในการอุ้มน้ำของดินต่ำลง หากมีปริมาณฝนสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลาดเชิงเขา อาจทำให้พื้นที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม โดยมีพื้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในช่วงวันที่ 2 ส.ค.- 4 ส.ค. 61 ให้เตรียมความพร้อมและติดตามสถานการณ์ ฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ศักยภาพในการอุ้มน้ำของดินต่ำลง หากมีปริมาณฝนสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลาดเชิงเขา อาจทำให้พื้นที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม โดยมีพื้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศแจ้งเตือน ของทางราชการอยู่ตลอดเวลา และเตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ กำลังพล ให้พร้อมสนับสนุนจังหวัด ตลอด 24 ชั่วโมง
รายงานสถานการณ์สาธารณภัย
จำนวนผู้เข้าชมในหน้านี้ 160287 ครั้ง