กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย
หน้าหลัก
ผู้บริหาร
เกี่ยวกับเรา
อำนาจหน้าที่
บุคลากร
หน่วยงานภายใน ศอ.
ส่วนอำนวยการ
ส่วนปฏิบัติการ
ส่วนวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์
ส่วนกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ส่วนการฝึกและป้องกันบรรเทาสาธาณภัย
ฝ่ายบริหารทั่วไป
ข่าวประชาสัมพันธ์
แจ้งเตือนเตรียมความพร้อม
หนังสือสั่งการ
ดาวน์โหลด
ติดต่อเรา
รายงานสถานการณ์สาธารณภัย
รายงานสถานการณ์ (SAT)
การฝึกป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ปฏิทินกิจกรรม
แจ้งเตือน
แจ้งเตือนเตรียมความพร้อม
แจ้งเตือน
1
2
3
4
5
..
3/8/2561
โทรสารในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ที่ มท 0624/ว 114-115 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2561
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศ ปริมาณฝนสะสม สถานการณ์น้ำท่า และปัจจัยเสี่ยงเชิงพื้นที่ พบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายจังหวัดมีฝนตกต่อเนื่องทำให้ศักยภาพในการอุ้มน้ำของดินต่ำลง หากมีปริมาณฝนสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลาดเชิงเขา อาจทำให้พื้นที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม โดยมีพื้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ได้แก่ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ ชัยภูมิ มุกดาหาร อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และจ.ประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการดังนี้ 1) ให้จังหวัดที่อยู่ติดกับริมแม่น้ำโขงติดตามสถานการณ์น้ำเพิ่มสูง เตรียมพร้อมรับมือ ติดตั้งระบบสูบน้ำ รวมทั้งบริหารการเปิดปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นตลิ่งและระบายน้ำออกตามสภาพพื้นที่พร้อมแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบ และจัดหาสถานที่ปลอดภัยสำหรับรองรับการอพยพประชาชน 2) ให้จังหวัดที่มีการพร่องหรือระบายและจังหวัดท้ายน้ำแจ้งอำเภอสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ผ่านทุกช่องทางการสื่อสารและกลไกฝ่ายปกครองอย่างทั่วถึง เพื่อแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามสถานการณ์น้ำเตรียมพร้อมรับมือ และปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการ เช่น จัดเก็บทรัพย์สินขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ขึ้นที่สูง เตรียมย้ายยานพาหนะไปยังพื้นที่ปลอดภัย ฯลฯ 3) กรณีพื้นที่ท้ายเขื่อน/อ่างเก็บน้ำให้เฝ้าระวังและติดตามการบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานภาครัฐอย่างใกล้ชิดหากพบว่าปริมาณน้ำที่ระบายน้ำมีปริมาณมากและระดับน้ำสูง ให้ชี้แจงประชาชนทราบถึงความเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และหากผู้อำนวยการท้องถิ่นหรือผู้อำนวยการอำเภอ หรือผู้อำนวยการจังหวัดพิจารณาแล้วมีความจำเป็นต้องอพยพ และดำเนินการอพยพไปจุดที่ปลอดภัยตามแผนเผชิญเหตุ 4) ให้ประสานการปฎิบัติกับหน่วยทหารในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน และเครือข่ายอาสาสมัครจากทุกภาคส่วน เตรียมพร้อมด้านสรรพกำลัง เครื่องจักรกลสาธารณภัย รวมทั้งให้จัดชุดเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุและให้ความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งแจ้งไปยัง ศูนย์ ปภ. เขต 2 (สุพรรณบุรี) เขต 4 (ประจวบคีรีขันธ์) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 13 (อุบลราชธานี) เขต 14 (อุดรธานี) ดำเนินการเฝ้าระวังสถานการณ์ระดับน้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ให้ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด สน.ปภ.จ. ในพื้นที่เพื่อรับมอบภารกิจและเตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ กำลังพล ให้พร้อมสนับสนุนจังหวัด ตลอด 24 ชั่วโมง
2/8/2561
โทรสารในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ที่ มท 0624/ว 111-112 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2561
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศ ปริมาณฝนสะสม สถานการณ์น้ำท่า และปัจจัยเสี่ยงเชิงพื้นที่ พบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายจังหวัดมีฝนตกต่อเนื่องทำให้ศักยภาพในการอุ้มน้ำของดินต่ำลง หากมีปริมาณฝนสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลาดเชิงเขา อาจทำให้พื้นที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม โดยมีพื้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในช่วงวันที่ 2 ส.ค.- 4 ส.ค. 61 ให้เตรียมความพร้อมและติดตามสถานการณ์ ฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ศักยภาพในการอุ้มน้ำของดินต่ำลง หากมีปริมาณฝนสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลาดเชิงเขา อาจทำให้พื้นที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม โดยมีพื้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศแจ้งเตือน ของทางราชการอยู่ตลอดเวลา และเตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ กำลังพล ให้พร้อมสนับสนุนจังหวัด ตลอด 24 ชั่วโมง
31/7/2561
โทรสารในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ที่ มท 0624/ว 105-106 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2561
ระหว่างวันที่ 28 -31 กรกฎาคม 2561
31/7/2561
โทรสารในราชการกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติที่ มท 0624/ว 16 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2561
ได้แจ้งไปยังทุกจังหวัดเตรียมควาพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย ในช่วง 28-31 กรกฎาคม 2561
1
2
3
4
5
..